เนื้อหาการเรียนรู้ประกอบการเรียน

วิชาการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ Science Curriculum Development

8.12.52

Nature of science

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of science : NOS)

“ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์” เป็นค่านิยม ข้อสรุป แนวคิดหรือ คำอธิบายที่บอกว่าวิทยาศาสตร์คือ อะไร มีการทำงานอย่างงไร นักวิทยาศาสตร์คือใคร ทำงานอย่างไร และงานด้านวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์อย่างไรกับสังคม ค่านิยม ข้อสรุป แนวคิดหรือคำอธิบายเหล่านี้จะผสมผสานกลมกลืนอยู่ในตัววิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการมองสิ่งเหล่านี้ในเชิงปรัชญาเกี่ยวกับการกำเนิด ธรรมชาติ วิธีการและขอบเขตของความรู้ของมนุษย์ (Epistemology)

สอดคล้องกับ สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 ใชกระบวนการทางวิทยาศาสตรและจิตวิทยาศาสตรในการสืบเสาะหาความรูการแกปญหา รูวาปรากฏการณทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นสวนใหญมีรูปแบบที่แนนอน สามารถอธิบายและตรวจสอบไดภายใตขอมูลและเครื่องมือที่มีอยูในชวงเวลานั้น ๆเขาใจวาวิทยาศาสตร เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดลอมมีความเกี่ยวของสัมพันธกัน

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นคือ ความเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร แตกต่างจากความรู้สาขาอื่น ๆ อย่างไร เหตุใดวิทยาศาสตร์จึงมีผลกระทบมากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะเป็นเครื่องมือในการหาความรู้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เป็นการใช้ความคิดขั้นสูงเพื่อให้คนเราสามารถดำรงชีวิตในโลกยุคนี้ได้ โลกที่ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลมานับไม่ถ้วน โลกที่เต็มไปด้วยความจริงและความเท็จ โลกที่มีทั้ง Science Non-science และ Pseudo-science โลกที่ต้องใช้การตัดใจแม้เรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ การเปรียบเทียบกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อที่นักวิจัยหลาย ๆ คนเห็นว่าเป็นประโยชน์และนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ดังนี้

1. Empirical NOS : วิทยาศาสตร์คือการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยใช้ข้อมูล หลักฐาน และการสังเกตเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2. Tentative NOS: ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้
3. Inferential NOS: ต้องลงข้อสรุป จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พูดง่าย ๆ คือว่า ความรู้ที่ได้ต้องอาศัยทั้งการสังเกตโดยตรงและการอนุมานจากข้อมูลเหล่านั้น
4. Creative NOS:ไอน์สไตน์ เคยบอกไว้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ต้องใช้ทั้งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยทฤษฎีอะตอมและ การค้นพบโครงสร้าง DNA เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ Aspect ข้อนี้
5. Theory-laden NOS: อันนี้จะเกี่ยวข้องกับนักปรัชญา Carl Poper และ Thomas Kuhn กล่าวคือ การการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จะขึ้นอยู่กับ กระบวนทัศน์ (Paradigm) ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความเชื่อ การฝึกฝน ความชำนาญ ดังนั้น วิทยาศาสตร์อาจจะไม่ได้เป็น ปรนัย (objective) เสมอไป ข้อนี้อาจตอบคำถาม หลาย ๆ คนว่าทำไมเวลาทำวิจัยต้องมีการ Review Literature ด้วย คำตอบก็คือ เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางงานวิจัยภายใต้ Theoretical framework เพื่อให้เราโฟกัสได้ตรงจุดนั่นเอง
6. Social and cultural NOS: วิทยา ศาสตร์เกี่ยวพันกับสังคม วัฒนธรรม บรรทัดฐาน หรือแม้แต่การเมือง ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ การเมืองและสงครามเย็นส่งผลให้อเมริกาต้องเร่งพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างเร่งด่วนมาแล้ว ในยุคต้นๆ ของ NASA
7. Myth of the “Scientific Method”: การ ค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้ไม่ได้มีใครมาเขียนข้อ 1 2 3 เหมือนคู่มือปฏิบัติการ เพราะโลกที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธี สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) มากมายหลายรูปแบบไม่ใช่แค่ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นเท่านั้น
8. Nature of scientific theories and law:สมมติฐานไม่ได้กลายเป็นทฤษฎี และทฤษฎีก็ไม่ได้กลายเป็นกฎ ทั้งหมดเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน เพราะมีที่มาต่างกัน

อ้างอิงจาก
http://schamrat.com/nos1.aspx

ไม่มีความคิดเห็น: