เนื้อหาการเรียนรู้ประกอบการเรียน

วิชาการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ Science Curriculum Development

5.1.53

หลักการพัฒนาหลักสูตร

  • ให้เนื้อหาสอดคล้องสภาพสังคมในปัจจุบัน
  • หลักสูตรตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและศักยภาพของผู้เรียน ในมัะยมปลายเป้าหมายของนักเรียนเพื่อศึกษาต่อ ดังนั้นจะสร้า้งหลักสูตรเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียน เ้น้นหลักทางด้านไหน เช้น แพทย์ วิศวะ
  • หลักสูตรที่ดีจะต้องมี เอกสารหลักสูตรที่ดี มีคู่มือต่างๆครบถ่วน มีวัสดุประกอบหลักสูตร(ระบุห้องปฏิบัติการมีอุปกรณ์อะไรบ้าง) มีแหล่งเรียนรู้ประกอบหลักสูตร ต้องยืดหยุ่น ตอบสนองต่อตลาดแรงงาน เช่น ไทยต้องตอบสนองเรื่อง วิทยาศาสตร์อาหาร เทคโนโลยีการตัดต่อ การเกษตร
  • หลักสูตรให้ได้ทั้ง KAP
  • แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับอาชีพในชุมชน เช่น พาไป CP โรงนม โรงงาน ทำให้ได้ แนวคิดว่าเอาวิทยาศาสตร์ไปใช้อย่างไร
  • สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา วิทยาศาสตร์สอดคล้องกับสังคม เพื่อพัฒนาประเทศนั้น และใช้ทรัพยากรในชาติไปใช้ใหเเกิดประโยชน์ต่อสังคม

ปัญหาและอุปสรรคการใช้หลักสูตร

  1. เนื้อหามาก เนื้อหาไม่เชื่อมโยง
  2. นักเรียนต่อหนึ่งห้องมีจำนวนมากเกินไป

PCK


คนเป็นครู
จะต้องมีความพร้อมทางด้าน (PCK)

Pedagogical
content

knowledge

หลักสูตรวิิทยาศาสตร์ในอุดคติ

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมีโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน มุ่งให้ผู้เรียนมีคุณภาพและคุณธรรม และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจและความถนัดของตนเอง คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน

ในปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการงานอาชีพ การสื่อสาร การคมนาคม ตลอดจนการดำรงชีวิตประจำวัน สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ได้ใช้หรือสร้างขึ้นมานั้นเป็นผลมาจากความรู้วิทยาศาสตร์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นทำให้มนุษย์มีความคิดเชิงเหตุผล คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยนำทักษะต่างๆ ที่ได้จากวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ มนุษย์ต้องเป็นรู้วิทยาศาสตร์ (science literacy) เพื่อความรู้นั้นไปใช้ในชีวิประจำวันได้ และสนุกกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง และสามารถนำวิทยาศาสตร์นั้นไปใช้ด้จริง จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเราทุกคนจึงควรได้รับและพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรมได้

องค์ประกอบของหลักสูตร

1. จุดประสงค์

เป้าหมายของหลักสูตร

1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการรู้วิทยาศาสตร์ (Science literacy) สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ในการประกอบอาชีพได้

2. เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ ขึ้น และนำ ความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้จริง

3. เพื่อพัฒนาให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและมีความคิดขั้นสูงเพื่อพัฒนาตนเองได้

2. เนื้อหา

ประกอยด้วยสาระการเรียนรู้ 8 สาระ

สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร

สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่

สาระที่ 5 : พลังงาน

สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ

สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. การจัดประสบการณ์สอน วิธีการสอน

การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้จะเน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) เพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) ผู้ เรียนมีการพัฒนาความคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความ รู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ รวมถึงมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและการจัดการ

4. สื่อการวัดและประเมิน

การประเมินผลแบ่งออกเป็นรายภาค มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ ( (Attitude) Knowledge) ด้านเจตคติและด้านทักษะกระบวนการ (Process) โดยใช้การประเมินตามสภาพจริง และใช้รูปแบบการประเมินที่หลากหลายตามความเหมาะสมของผู้เรียน โดยเพิ่มกระบวนการในการประเมินการอ่าน คิดขั้นสูง และเขียน ลงไปในหลักสูตรด้วย