เนื้อหาการเรียนรู้ประกอบการเรียน

วิชาการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ Science Curriculum Development

8.12.52

การปฏิรูปวิทยาศาสตร์ศึกษาของประเทศไทย

การปฏิรูปวิทยาศาสตรศึกษาของไทย
ปัญหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของไทย
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

2.1 วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีกับสังคมไทย มักมองวา วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเปนสิ่งที่ซับซอนเขาใจยาก ทำใหไมสนใจและไมอยากเรียนรูหรือนำมาใช แมแตผูกํ าหนดนโยบายหรือผูนำประเทศก็มีทัศนคติวาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเปนเพียงวิชาการแขนงหนึ่งเทานั้น การจัดสรรงบประมาณจึงเปนไปเทาที่ทรัพยากรจะเอื้ออํ านวยให้

2.2 สถานภาพระดับความสามารถของประเทศไทยในการแขงขันกับนานาชาติที่ปรากฏในการจัดอันดับความสามารถในการแขงขันระหวางประเทศใน WorldCompetitiveness Yearbook ซึ่งเปนรายงานประจํ าป2544 ในดานโครงสรางพื้นฐานทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ประเทศไทยอยูอันดับที่ 49 จาก 49 ประเทศ ในการวิเคราะหถึงสาเหตุของความตกต่ำซึ่งประกอบดวย 5 จจัยหลัก คือ

1)! าใชายของประเทศในดานการวิจัยและพัฒนาทั้งภาพรวมและในภาคเอกชน

2)! บุคลากรดานการวิจัยและพัฒนาของประเทศโดยรวมและในภาคเอกชน

3)! การจัดการดานเทคโนโลยี ในดานความรวมมือและการพัฒนาเทคโนโลยี

4)! สิ่งแวดลอมทางวิทยาศาสตรในประเทศ เชน รางวัลโนเบล การวิจัยพื้นฐาน การศึกษา

5)! สิทธิบัตรและการคุมครองทรัพยสินทางปญญา ทั้งดานจำนวนและการใหความคุมครอง

2.3 การพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี สํ าหรับประเทศไทยมีนักวิจัยและพัฒนาเพียง

ประมาณ 2 คน ตอประชากร 10,000 คน จัดอยูในกลุมประเทศที่ลาหลังที่สุด ทั้งที่สถานะทางศรษฐกิจบงชี้วาควรมีกำลังคนในการวิจัยและพัฒนามากกวานี้นับสิบเทา


Nature of science

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of science : NOS)

“ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์” เป็นค่านิยม ข้อสรุป แนวคิดหรือ คำอธิบายที่บอกว่าวิทยาศาสตร์คือ อะไร มีการทำงานอย่างงไร นักวิทยาศาสตร์คือใคร ทำงานอย่างไร และงานด้านวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์อย่างไรกับสังคม ค่านิยม ข้อสรุป แนวคิดหรือคำอธิบายเหล่านี้จะผสมผสานกลมกลืนอยู่ในตัววิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการมองสิ่งเหล่านี้ในเชิงปรัชญาเกี่ยวกับการกำเนิด ธรรมชาติ วิธีการและขอบเขตของความรู้ของมนุษย์ (Epistemology)

สอดคล้องกับ สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 ใชกระบวนการทางวิทยาศาสตรและจิตวิทยาศาสตรในการสืบเสาะหาความรูการแกปญหา รูวาปรากฏการณทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นสวนใหญมีรูปแบบที่แนนอน สามารถอธิบายและตรวจสอบไดภายใตขอมูลและเครื่องมือที่มีอยูในชวงเวลานั้น ๆเขาใจวาวิทยาศาสตร เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดลอมมีความเกี่ยวของสัมพันธกัน

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นคือ ความเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร แตกต่างจากความรู้สาขาอื่น ๆ อย่างไร เหตุใดวิทยาศาสตร์จึงมีผลกระทบมากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะเป็นเครื่องมือในการหาความรู้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เป็นการใช้ความคิดขั้นสูงเพื่อให้คนเราสามารถดำรงชีวิตในโลกยุคนี้ได้ โลกที่ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลมานับไม่ถ้วน โลกที่เต็มไปด้วยความจริงและความเท็จ โลกที่มีทั้ง Science Non-science และ Pseudo-science โลกที่ต้องใช้การตัดใจแม้เรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ การเปรียบเทียบกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อที่นักวิจัยหลาย ๆ คนเห็นว่าเป็นประโยชน์และนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ดังนี้

1. Empirical NOS : วิทยาศาสตร์คือการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยใช้ข้อมูล หลักฐาน และการสังเกตเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2. Tentative NOS: ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้
3. Inferential NOS: ต้องลงข้อสรุป จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พูดง่าย ๆ คือว่า ความรู้ที่ได้ต้องอาศัยทั้งการสังเกตโดยตรงและการอนุมานจากข้อมูลเหล่านั้น
4. Creative NOS:ไอน์สไตน์ เคยบอกไว้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ต้องใช้ทั้งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยทฤษฎีอะตอมและ การค้นพบโครงสร้าง DNA เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ Aspect ข้อนี้
5. Theory-laden NOS: อันนี้จะเกี่ยวข้องกับนักปรัชญา Carl Poper และ Thomas Kuhn กล่าวคือ การการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จะขึ้นอยู่กับ กระบวนทัศน์ (Paradigm) ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความเชื่อ การฝึกฝน ความชำนาญ ดังนั้น วิทยาศาสตร์อาจจะไม่ได้เป็น ปรนัย (objective) เสมอไป ข้อนี้อาจตอบคำถาม หลาย ๆ คนว่าทำไมเวลาทำวิจัยต้องมีการ Review Literature ด้วย คำตอบก็คือ เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางงานวิจัยภายใต้ Theoretical framework เพื่อให้เราโฟกัสได้ตรงจุดนั่นเอง
6. Social and cultural NOS: วิทยา ศาสตร์เกี่ยวพันกับสังคม วัฒนธรรม บรรทัดฐาน หรือแม้แต่การเมือง ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ การเมืองและสงครามเย็นส่งผลให้อเมริกาต้องเร่งพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างเร่งด่วนมาแล้ว ในยุคต้นๆ ของ NASA
7. Myth of the “Scientific Method”: การ ค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้ไม่ได้มีใครมาเขียนข้อ 1 2 3 เหมือนคู่มือปฏิบัติการ เพราะโลกที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธี สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) มากมายหลายรูปแบบไม่ใช่แค่ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นเท่านั้น
8. Nature of scientific theories and law:สมมติฐานไม่ได้กลายเป็นทฤษฎี และทฤษฎีก็ไม่ได้กลายเป็นกฎ ทั้งหมดเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน เพราะมีที่มาต่างกัน

อ้างอิงจาก
http://schamrat.com/nos1.aspx

Scienctific literacy

การรู้เรื่องทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy)

ตามความหมายของ PISA หมายถึง การรู้กระบวนการ (Process) การรู้แนวคิดและสาระเนื้อหา (Concepts andContent)
และการใช้วิทยาศาสตร์เพื่ อที่จะสามารถเข้าใจและช่วยการตัดสินใจเกี่ ยวกับโลกธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนทั้งใน
ปัจจุบันและการใช้ชีวิตในสังคมในอนาคต
การรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) เป็นความรอบรู้เชิงวิทยาศาสตร์หรือการรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายถึง การที่บุคคลสามารถเข้าใจในทุกแง่มุมของความรู้วิทยาศาสตร์ ทั้งความเป็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ทัศนคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้าใจในมวลความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง จนสามารถนำเอาความรู้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมทั้ง
........-ด้านธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science)
........-ด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Science Knowledge)
........-ด้านจิตวิทยาศาสตร์ (Habits of Mind)
การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การดำเนินกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ข้อเท็จจริง มโนมติ หลักการ และจิตวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นในการที่จะสอนการรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) จึงควรมีมุมมองและทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ดังนี้
........1. สอนให้เข้าในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) โดยควรสอนให้เข้า ใจในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับการชี้ให้เห็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ สอนให้เกิดทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ (knowledge of science) และ วิธีที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่าง ในชีวิตประจำวัน
.......2. สอนให้เกิดจิตวิทยาศาสตร์ (Habits of mind) ต้องสอนเรื่องราวที่เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์(History) ปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Philosophy) และ สังคมวิทยา (Sociology) ให้กับผู้เรียนเพื่อให้เห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
.......3. สอนให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm Shift) จากที่เคยรอรับความรู้เพียงฝ่าย เดียว ให้ปรับเปลี่ยนแนวคิดที่จะค้นหาความรู้ด้วยตนเอง เมื่อเจอปัญหาสามารถศึกษา และหาสาเหตุของปัญหา หาแนวทางแก้ปัญหา เก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ สรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างเป็นความรู้ของตนเองได้ (constructivist practice in science) จะทำให้เกิดความคงทนของความรู้ และอาจได้ความรู้ใหม่ วิธีการหาความรู้แบบใหม่ต่อไป

อ้างอิงจาก
http://gotoknow.org/blog/brochill/278247